Social Icons

Social Icons

วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ปลาการ์ตูน

เป็นปลามีสีสันสวยงาม โดยทั่วไปประกอบด้วยสีส้ม, แดง, ดำ, เหลือง และมีสีขาวพาดกลางลำตัว 1-3 แถบ อย่างไรก็ตาม แม้จะเป็นชนิดเดียวกัน ก็จะมีสีแตกต่างกันเล็กน้อยเสมอ ซึ่งความแตกต่างนี้ทำให้จดจำคู่ได้ นอกจากนั้น แหล่งที่อยู่อาศัยที่แตกต่างกันทำให้เกิดการแปรผันด้วย ปลาการ์ตูนอยู่กันเป็นครอบครัว กินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร เป็นปลาที่หวงถิ่นมาก มีเขตที่อยู่ของตนเอง
พบอาศัยอยู่ตามแนวปะการังในบริเวณเส้นศูนย์สูตรทั่วโลก อาศัยอยู่ตามแนวปะการังกับดอกไม้ทะเล
ปลาการ์ตูนออกลูกเป็นไข่และสามารถเปลี่ยนเพศได้ ปลาการ์ตูนจะเปลี่ยนเพศเมื่อสิ่งแวดล้อมกำหนดบทบาทให้ โดยในระยะแรกเริ่มหลังจากที่ฟักออกจากไข่ยังไม่สามารถกำหนดได้ว่าเป็นเพศใด จนกว่าจะเป็นตัวเต็มวัยจึงจะปรากฏเป็นปลาเพศผู้ และในปลารุ่นเดียวกันที่มีขนาดใหญ่ที่สุดจะต้องเปลี่ยนแปลงเป็นปลาเพศเมีย โดยในสังคมของปลาการ์ตูนกลุ่มหนึ่ง ๆ จะมีปลาเพศเมียเพียงตัวเดียวเท่านั้น ตัวใหญ่ที่สุดในฝูง สีสันไม่สดใสมากนัก พฤติกรรมก้าวร้าว ส่วนปลาเพศผู้มีขนาดเล็กกว่า สีสันสวยงามกว่า จากปลาเพศผู้ เมื่อมีสิ่งเร้าจากภายนอกและภายในเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ เทเลนฟาลอน (Telenephalon) จะส่งสัญญาณมาที่ทาลามัส (Thalamus) และไฮโปธาลามัส (Hypothalamus) ส่งคำสั่งไปยังต่อมใต้สมองให้หลั่งฮอร์โมนเฉพาะของเพศผู้ อวัยวะเป้าหมายส่วนที่ จะพัฒนาจนสามารถทำงานได้คืออัณฑะผลิตสเปิร์ม ส่วนตัวที่ใหญ่ ที่สุดจะมีพัฒนาการตรงกันข้าม ไฮโปธาลามัสจะส่งคำสั่งไปยังต่อมใต้สมองให้หลั่งฮอร์โมนเฉพาะของเพศเมีย อวัยวะเป้าหมายคือรังไข่ ผลิตไข่ และถ้าเพศเมียตายไป ปลาการ์ตูนเพศผู้ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด แข็งแกร่งที่สุด จะเกิดการเปลี่ยนแปลงเพศทดแทนด้วยกลไกแบบหลังภายใน 4 สัปดาห์ โดยจะเพิ่มขนาดอย่างรวดเร็ว พร้อมสีสันสวยน้อยลง
และจากการศึกษาพบว่า ปลาการ์ตูนมีระบบชนชั้นภายในฝูง โดยตำแหน่งหัวหน้าฝูงจะเป็น ปลาเพศเมียตัวที่ใหญ่ที่สุด และลดหลั่นกันไปจนถึงตัวที่มีขนาดเล็กที่สุด อีกทั้งยังพบด้วยว่า แม้ว่าปลาการ์ตูนจะถือกำเนิดห่างไกลจากที่กำเนิดเท่าใด เมื่อเจริญเติบโตขึ้นหรือถึงฤดูผสมพันธุ์วางไข่ จะว่ายฝ่ากระแสน้ำกลับมาวางไข่ยังบริเวณเดิมที่กำเนิด โดยอาศัยการดมกลิ่นจากกลิ่นของพืชที่อยู่บริเวณนั้น ซึ่งปลาจะมีความจดจำลักษณะเฉพาะของกลิ่นได้[

ปลาหมอสี

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cichlidae (ออกเสียงในภาษาอังกฤษว่า ซิค-ลิด-เด) ปลาในวงศ์นี้มีชื่อสามัญภาษาอังกฤษว่า cichlid (ออกเสียงว่า ซิค-ลิด) ภาษาไทยนิยมเรียกว่า "ปลาหมอสี" ปลาในวงศ์นี้ส่วนใหญ่จึงมักมีชื่อขึ้นต้นว่า "ปลาหมอ" เช่น ปลาหมอกล้วยหอม ปลาหมอเท็กซัส เป็นต้น

ปลาในวงศ์ปลาหมอสี มีลักษณะหลายหลากแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมของถิ่นกำเนิดค่ะ ส่งผลให้ปลามีความหลากหลายทั้งชนิด สายพันธุ์ รูปร่าง และการดำรงชีวิต ปลาหมอสีส่วนใหญ่เป็นปลาน้ำจืด แต่มีบางชนิดพบในน้ำกร่อย ปลาในวงศ์นี้พบมากที่สุดในทวีปแอฟริกา และทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งมีประมาณ 900 และ 290 ชนิดตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีบางชนิดพบได้ในตอนล่างของทวีปอเมริกาเหนือ อีกสี่ชนิดพบในตะวันออกกลาง และอีกสามชนิดพบในอินเดีย ปลาในวงศ์ปลาหมอสีมีความสำคัญต่อมนุษย์ในหลายลักษณะ ปลาในวงศ์บางชนิด ก็สามารถนำมาบริโภคได้ เช่น ปลานิล ซึ่งจัดเป็นปลาเศรษฐกิจที่เลี้ยงง่าย โตเร็ว ในขณะที่ปลาอีกหลายชนิดเป็นปลาตู้สวยงาม เช่น ปลาเทวดา ปลาปอมปาดัวร์ และ ปลาออสการ์

ปลาช่อน

การดำน้ำไม่มีความก้าวหน้านับเป็นพันปีเนื่องจากปราศจากความเข้าใจในวิชาสรีรวิทยาที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ และปฏิกิริยาของร่างกายต่อสภาวะต่างๆ ใต้น้ำ กับวิชาฟิสิกส์ที่ว่าด้วยแรงกดดัน หรือแรงที่กระทำบนตัวนักดำน้ำขณะอยู่ใต้น้ำ ผลของแรงกดดันต่อคุณสมบัติและพฤติกรรมของสสารในร่างกาย ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาความรู้ขึ้น การเรียนรู้วิชาฟิสิกส์ของการดำน้ำอันเกี่ยวกับคุณสมบัติของสสาร (ของเหลวและก๊าซ) เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงภายใต้สภาวะต่างๆ รวมถึงวิชาสรีรวิทยาประยุกต์กับการดำน้ำจึงทำให้เข้าใจถึงการดำน้ำ และผลที่ก่อให้เกิดความผิดปกติของร่างกายมนุษย์
          ของเหลวมีน้ำหนักและปริมาณคงที่ แต่มีรูปร่างตามภาชนะที่บรรจุไม่สามารถบีบอัดให้มีปริมาตรเล็กลงได้ ปริมาตรของของเหลวจึงไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงความกดดันหรืออุณหภูมิ ในขณะที่ก๊าซทุกชนิดที่มีน้ำหนักต้องการที่อยู่ และไม่มีรูปร่างที่จำกัด สามารถบีบอัดให้มีปริมาตรเล็กลงได้ ในจำนวนก๊าซที่มีอยู่มากมาย มีเพียง ๓-๔ ชนิดเท่านั้นที่มีความสำคัญเป็นพิเศษต่อนักดำน้ำ ได้แก่ ส่วนประกอบสำคัญของอากาศ ๒ ชนิดคือ ก๊าซออกซิเจนและ ก๊าซไนโตรเจน เมื่อหายใจนานเกินไปภายใต้ความกดดันที่เพิ่มขึ้นหรือใต้น้ำ ก๊าซทั้งสองชนิดจะเป็นอันตรายต่อร่างกาย เรียกว่า การเป็นพิษของออกซิเจน และการเมาไนโตรเจนก๊าซอีกชนิดที่มีความสำคัญต่อนักดำน้ำในขณะที่ความลึกของการดำเพิ่มขึ้นได้แก่ ก๊าซฮีเลียมเพราะเมื่อนำมาผสมกับก๊าซออกซิเจนในสัดส่วนที่พอเหมาะ จะทำให้เกิดอากาศเทียมซึ่งคล้ายอากาศปกติใต้น้ำ แต่มีความหนาแน่นน้อยกว่าและทำให้เกิดการมึนเมาน้อยกว่าเมื่อความกดดันเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นยังมีก๊าซอันตรายอีก ๒ชนิด ที่นักดำน้ำควรรู้จัก คือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ก๊าซชนิดแรกเกิดขึ้นจากปฏิกิริยาการเผาผลาญของร่างกายตามปกติ แต่ถ้าปริมาณคาร์บอน-ไดออกไซด์เกิดมากเกินกว่าปกติก็จะเป็นอันตรายได้การหายใจของนักดำน้ำ ก็เป็นสาเหตุของการเกิดอันตรายจากคาร์บอนไดออกไซด์มากผิดปกติได้ สำหรับก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ซึ่งเกิดจากไอเสียเครื่องยนต์ หรือเกิดในห้องที่ปิดที่มีสี หรือของที่เก็บไว้กำลังเสื่อมสภาพ ถ้าก๊าซชนิดนี้มีการปนเปื้อนในอากาศที่ใช้หายใจของนักดำน้ำ จะทำให้เกิดอาการผิดปกติอย่างร้ายแรงจากภาวะการเป็นพิษของคาร์บอนมอนอกไซด์ ได้
          โดยธรรมชาติ ในน้ำมีความกดดันสูงกว่าบนบก น้ำยิ่งลึกมากเท่าใดความกดดันก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น ที่ระดับน้ำทะเลมีความกดดัน ๑บรรยากาศ และทุกๆ ๓๓ ฟุต (๑๐ เมตร) ลึกลงไปในน้ำ จะมีความกดดันเพิ่มขึ้น ๑ บรรยากาศและเมื่อดำน้ำลงไปที่ความลึกมากๆ การละลายของก๊าซที่หายใจก็ยิ่งมากขึ้น
          สภาพแวดล้อมที่เป็นน้ำใต้ทะเล มีธรรมชาติแตกต่างจากบนพื้นดินที่มนุษย์คุ้นเคย เมื่ออยู่ใต้น้ำ การทำงานของอวัยวะหลายอย่างผิดไปจากปกติ ไม่ว่าจะเป็นการทรงตัว การมองเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหวหรือแม้แต่การหายใจก็จะกลายเป็นเรื่องยุ่งยากหากอยู่ใต้น้ำ ความจำกัดเหล่านี้เป็นอุปสรรคในการกระทำกิจกรรมต่างๆ ทั้งอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายขณะดำน้ำนอกเหนือจากความเสี่ยงต่อการจมน้ำ

วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ปลาฉลาม

ไฟล์:Blacktip reef shark.jpg

ปลาฉลามแบ่งออกได้เป็นหลายอันดับ หลายวงศ์ และหลายชนิด โดยปัจจุบันพบแล้วกว่า 440 ชนิด มีขนาดลำตัวแตกต่างออกไปตั้งแต่ 17 เซนติเมตร เท่านั้น ในปลาฉลามแคระ (Etmopterus perryi) ซึ่งเป็นปลาฉลามน้ำลึกที่อาศัยอยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติกบริเวณทวีปอเมริกาใต้ ไปจนถึง ปลาฉลามวาฬ (Rhincodon typus) ที่มีความยาวกว่า 12 เมตร ซึ่งเป็นปลาที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้วย[2]
ปลาฉลามทุกชนิดเป็นปลากินเนื้อ มักล่าสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ กินเป็นอาหาร แต่ก็มีฉลามบางจำพวกที่กินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร เช่น ปลาฉลามในอันดับ Orectolobiformes ได้แก่ ปลาฉลามวาฬ, ปลาฉลามในอันดับ Lamniformes เช่น ปลาฉลามเมกาเมาท์ (Megachasma pelagios) และปลาฉลามบาสกิ้ง (Cetorhinus maximus)
แต่ปลาฉลามบางสกุลในอันดับ Lamniformes เช่น ปลาฉลามมาโก (Isurus spp.) และปลาฉลามในอันดับ Carcharhiniformes มีรูปร่างเพรียวยาว ว่ายน้ำได้ปราดเปรียว โดยอาจทำความเร็วได้ถึง 35 กิโลเมตร/ชั่วโมง เช่น ซึ่งฉลามในอันดับนี้ หลายชนิดเป็นปลาที่ดุร้าย อาจทำร้ายมนุษย์หรือกินสิ่งต่าง ๆ ถึงแม้จะไม่ใช่อาหารได้ด้วย ฉลามในอันดับนี้ได้แก่ ปลาฉลามขาว (Carcharodon carcharias), ปลาฉลามเสือ (Galeocerdo cuvier), ปลาฉลามหัวบาตร (Carcharhinus leucas) เป็นต้น
นอกจากนี้แล้ว ยังมีปลาฉลามที่มีรูปร่างประหลาดและพฤติกรรมที่แตกต่างไปจากปลาฉลามส่วนใหญ่ อาทิ ปลาฉลามเสือดาว (Stegostoma fasciatum), ปลาฉลามกบ (Chiloscyllium spp.) ที่อยู่ในอันดับ Orectolobiformes ซึ่งเป็นปลาฉลามที่ไม่ดุร้าย มักหากินและอาศัยอยู่ตามพื้นทะเล มีครีบหางโดยเฉพาะครีบหางตอนบนแหลมยาวและมีขนาดใหญ่ และมักมีสีพื้นลำตัวเป็นลวดลายหรือจุดต่าง ๆ เพื่อพรางตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม หรือ ปลาฉลามโบราณ (Chlamydoselachus anguineus) ที่อยู่ในอันดับ Hexanchiformes ที่มีรูปร่างยาวคล้ายปลาไหล เป็นปลาน้ำลึกที่หาได้ยากมาก ๆ และเดิมเคยเชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว
ปลาฉลามโดยมากเป็นปลาที่ออกลูกเป็นตัว ในตัวผู้จะมีอวัยวะเพศเป็นติ่งยื่นยาวออกมาหนึ่งคู่เห็นได้ชัด ซึ่งเรียกว่า "เดือย" หรือ Clasper แต่ก็มีเพียงบางชนิดเท่านั้นที่ออกลูกเป็นไข่ โดยมากแล้วเป็นปลาทะเล อาศัยอยู่ในทะเลทั้งเขตอบอุ่นและขั้วโลก มีเพียงบางสกุลและบางชนิดเท่านั้น ที่อาศัยอยู่ในน้ำจืดหรือน้ำกร่อยได้ อาทิ ปลาฉลามแม่น้ำ (Glyphis spp.) ที่เป็นปลาฉลามน้ำจืดแท้ โดยมีวงจรชีวิตอยู่ในน้ำจืดตลอดทั้งชีวิต และปลาฉลามหัวบาตร หรือ ปลาฉลามครีบดำ (Carcharhinus melanopterus) ที่มักหากินตามชายฝั่งและปากแม่น้ำ ซึ่งอาจปรับตัวให้อยู่ในน้ำจืดสนิทได้

ปลาโลมา

 ไฟล์:Petting the dolphins at Sea World Orlando.jpg

โลมา เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมซึ่งอาศัยอยู่ในน้ำและมีสติปัญญาสูงชนิดหนึ่ง มีเชื้อสายใกล้เคียงกับ วาฬ ในภาษาอังกฤษเรียกโลมาว่า Dolphin มาจากภาษากรีกโบราณ δελφίς เดลฟิส (delphis) ตำนานกรีก เล่าว่า เทพแห่งไวน์ของกรีก ชื่อ ไดโอนีซอส (Dionysos) แปลงลงมาเป็นมนุษย์ และได้โดยสารเรือข้ามจากเกาะอิคาเรีย (Ikaria) ไปยังเกาะนาซอสในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไดโอนีซอสนั้นแม้จะเป็นเทพ ทว่าไม่มีญาณหยั่งรู้ว่าเรือลำที่ตนโดยสารไปนั้นเป็นเรือโจร ลูกเรือจะปล้นผู้โดยสารทุกคนถ้วนหน้า เมื่อถึงคราวของไดโอนีซอส เขาจึงถูกลูกเรือปล้น และคิดจะจับเขาไปขายเป็นทาส ด้วยเหตุนี้ เขาจึงจำต้องแสดงตนว่าเป็นเทพ และสาปให้เรือมีเถาองุ่นขึ้นเต็ม มีเสียงขลุ่ยดังขึ้น พวกลูกเรือตกใจ จึงกระโดดน้ำหนีไปหมด และได้กลายร่างเป็นปลาโลมา มาจนกระทั่งทุกวันนี้ เมื่อกลายเป็นปลาโลมา นิสัยของลูกเรือก็เปลี่ยนไปด้วย กลายเป็นสัตว์ที่ใจดี มีเมตตา แถมยังช่วยเทพแห่งสมุทร คือ โพซิดอนหาเจ้าสาวอีกด้วย ด้วยเหตุนี้ปลาโลมาจึงได้รับเกียรติจากโพซิดอน ตั้งชื่อ กลุ่มดาวกลุ่มหนึ่งว่า กลุ่มดาวโลมาอีกด้วย ที่จริงแล้วโลมาเคยเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อยู่บนบกเหมือนมนุษย์ แต่เพื่อความพยายามหาอาหาร เลี้ยงปากเลี้ยงท้อง และหนีศัตรู โลมาจึงค่อยๆปรับตัวให้ลงไปอยู่ในน้ำ เพื่อความอยู่รอดแทน นั่นเป็นตำนานของคนโบราณ แต่ในความเป็นจริงแล้ว โลมาเป็นสัตว์เลือดอุ่นอาศัยอยู่ในน้ำ คลอดลูก เป็นตัว แถมยังเลี้ยงลูกด้วยนมเหมือนมนุษย์

ปลาปลาทอง



สีปลาทอง
  
สภาวะแวดล้อม  โดยเฉพาะอย่างยิ่งแสงสว่างมีอิทธิพลต่อสีของปลาทองมากที่สุด ปลาทองที่เลี้ยงในที่มีแสงสลัว อย่างเช่นเลี้ยงในบ่อลึก ในแม่น้ำ เป็นต้น สีจะซีดจางตรงกันข้ามกับปลาทองที่เลี้ยงในที่มีแสงสว่างจ้า สีจะเข้มและสดใส
   สีปลาทองเกิดจากเซลล์เม็ดเลือดสี 2 หรือ 3 ชนิด ได้แก่
   สีดำ เกิดจากเซลล์เม็ดเลือดสี เมลาโนฟอร์
(Melanophores) 
   สีเหลือง เกิดจากเซลล์เม็ดเลือดสี แซนโธฟอร์  (Zanthophores) 
   สีแดง เกิดจากเซลล์เม็ดเลือดสี อีริโธฟอร์ (Erythophores) บางตำราว่าเหมือนกับ แซนโธฟอร์
   การมีหรือขาดเซลล์เม็ดเลือดสีในปริมาณแตกต่างกัน รวมทั้งองค์ประกอบทางเคมี ตลอดจนตำแหน่งของเซลล์เม็ดสีในตัวปลา คือ ปัจจัยทำให้ปลาทองมีสีต่าง ๆ
   สีทอง ปลาทองป่า หรือปลาทองตามธรรมชาติจะมีเซลล์เม็ดเลือดสีเพียงแค่ม 2 ชนิด คือ  เมลาโนฟอร์  (ดำ)  แซนโธเฟอร์ (เหลือง) เมื่อรวมกับสารประกอบสีเงินที่มีชื่อว่า กวานีน 
(guanine)  ในชั้นของผิวหนังทำให้ปลาทองป่ามีสีเทาอมเงิน เมื่อเกิดการกลายพันธุ์หรือสีส้ม หรือ สีเหลือง ขึ้นอยู่กับตำแหน่งและปริมาณของเซลล์เม็ดสี  แซ่นโฟอร์  เหลือง
   สีแดง  ปลาทองสีแดงเป็นปลาที่มีเซลล์เม็ดสี (แดง)  จำนวนมาก
   สีขาว  ปลาทองสีขาวเป็นปลาที่ไม่มีเซลล์เม็ดเลือดสีอยู่เลย
   สีทองแดงหรือสีนาก สัดส่วนการผสมที่ไม่เท่ากันของเซลล์เม็ดสีเมลาโนฟอร์ (ดำ)  กับ แซนโธฟอร์ (เหลือง) ทำให้เกิดโทนสีหลายโทน ตั้งแต่สีทองแดง สีเหล็ก ไปจนถึงสีน้ำตาล
   สีน้ำเงิน ปลาทองที่มีสีมุก
(nacreous/matt fish)  ถ้าเซลล์เม็ดเลือดสี เมลาโนฟอร์ (ดำ) มีจำนวนน้อย และอยู่ในชั้นของผิวหนังค่อนข้างลึก รวมทั้งเซลล์เม็ดสีแซนโธฟอร์ (เหลือง)  ขาดหายไป สีของปลาที่มองเห็นจะออกไปทางสีน้ำเงิน ซึ่งถ้าจะว่าไป สีน้ำเงินเมทัลลิก บลู (metallic blue)  จริงๆ แล้วก็คือสีเทา  (grey)  นั้นเอง
   สีดำ ปลาทองที่มีสีดำจะมี่เซลล์เม็ดสี เมลาโนเฟอร์ (ดำ) จำนวนมากและเรียงอยู่ที่ชั้นใกล้ผิวหนังของตัวปลา
   ความแตกต่างในเรื่องสีของปลาทอง นอกจากจะขึ้นอยู่กับปริมาณของเซลล์เม็ดสี
(pigment cell) แล้ว ยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับสารประกอบสีเงินที่เรียกว่า "กวานีน" (guanine) ซึ่งอยู่ในชั้นผิวหนังใต้เกล็ดปลาปกติเกล็ดปลาจะมีลักษณะโปร่งใส (transparent) ถ้าปลาตัวไหนมีสารกวานีน ในชั้นผิวหนังจำนวนมาก เกล็ดปลาก็จะเห็นเป็นสีเงินสะท้อนแสงเป็นแวววาว ถ้ามี
สารกวานีนจำนวนน้อย เกล็ดปลาจะเห็นเป็นสีมุกจางๆ 
(nacreous)  แต่ถ้าขาดสารกวานีน เกล็ดปลาจะมองเห็นเป็นสีมุกทึบ

ครีบปลาทอง

  
ตามปกติแล้วครีบปลาทองจะมี 2 ชั้นประกบกันแนบสนิท ปลาทองที่มีครีบเดี่ยว เช่น ปลาทองธรรมกา
(Common Glkdfish)  ปลาทองโคเมท (Comet)  และปลาทองซูบุงกิง (Shubunkin)  ล้วนมีครีบสองชั้นเหมือนปลาทองป่าหรือปลาทองธรรมชาติที่เป็นต้นตระกูลของมัน
   ครีบหลังและครีบก้นที่แยกชั้นออกจากกันเป็นครีบคู่ของปลาทองชนิดหางคู่ ซึ่งเป็นลักษณะของการกลายพันธุ์ตั้งแต่ยุคราชวงศ์หมิง ของประเทศจีนเมื่อ 600 กว่าปีมาแล้ว เช่นเดียวกับปลาทองที่ไม่มีครีบหลังลักษณะ 3 ประการนี้เมื่อรวมกับการกลายพันธุ์โดยลำตัวสั้นลงและป้อมขึ้น ทำให้เกิดเป็นปลาทองทรงรูปไข่
(eggfish) เป็นปลาทองพันธุ์ลำตัวป้อมสั้นหางคู่ที่เก่าแก่และเป็นต้นสายพันธุ์ของปลาทองหัวสิงห์ (Lionhead) ปลาทองปอมปอน (Pompon) ปลาทองตากลับ (Celestial)  และตาลูกโป่ง (Bubble)
   ปลาทองชนิดลำตัวยาวแต่มีหางคู่และครีบหลังแยกเป็นครีบคู่ก็มีอย่างเช่นปลาทอง ยิกิง (Jikin) หรือปลาทองหางนกยูง  (Peacock Tail) และปลาทอง วากิง (Wakin)
   นอกจากนั้นแล้วยังมีปลาทองลำตัวสั้นหางคู่ที่มีครีบยาว ซึ่งพัฒนามาจากพวกหางคู่ครีบสั้น ได้แก่ปลาทองริวกิ้น (Ryukin/Veiltail)  ปลาทองออแรนดา  (Oranda)  ปลาทองตาโปน (Globe/Telescope) และปลาทองพันธุ์เล่ห์หางแฉก (Broadtail moor)

องค์ประกอบภายนอกของปลาทอง

   องค์ประกอบภายนอกของปลาทองโดยทั่วไปแล้วเขาแบ่งกันออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนหัว ส่วนลำตัว และส่วนหาง

   ส่วนหัว
:  เริ่มต้นจากปลายปากไปจนถึงเหงือก ปลาทองหลายชนิดมีก้อนเนื้อลักษณะเป็นเม็ดรวมตัวเป็นก้อนทีนิยมเรียกกันว่า "วุ้น" จับอยู่บริเวณส่วนหัวแต่ปลาทองบางพันธุ์ก็ไม่มีวุ้น
   ส่วนหัวของปลาทอง ถ้ามองจากด้านบนแบ่งออกได้เป็น  3  ลักษณะ คือ
   ลักษณะคล้ายหัวเรือ เช่น ปลาทองพันธุ์ วากิง  และริวกิ้น เป็นต้น
   ลักษณะกลมรี  เช่น ปลาทองพันธุ์ออแรนดาหัววุ้น
   ลักษณะทรงกลมแบบครึ่งเหรียญ เช่น ปลาทองพันธุ์หัวสิงห์
   ส่วนหัวของปลาทองประกอบด้วยอวัยวะที่สำคัญคือ

   ตา
: เป็นอวัยวะที่ช่วยให้มองเห็น แต่ตาปลาทองมีลักษณะพิเศษที่แตกต่างไปจากปลาทั่วไป แบ่งออกได้เป็น 4 แบบ คือ
   แบบตาปกติทั่วไปได้แก่ ปลาทองธรรมดา ปลาทองโคเมท ปลาทองริวกิ้น ออแรนดา เกล็ดแก้ว เป็นต้น
   แบบตาโปนออกมาด้านข้าง  ได้แก่ ปลาทองพันธุ์ตาโปนต่าง ๆ ปลาทองพันธุ์เล่ห์ เป็นต้น
   แบบตาหงายขึ้นด้านบน  ได้แก่ ปลาทองพันธุ์กลับ  เป็นต้น
   แบบตาที่มีขอบโป่งพองเหมือนมีถุงน้ำติดอยู่ด้านข้าง ได้แก่ ปลาทองพันธุ์ตาลูกโป่ง เป็นต้น
   แม้ตาปลาทองบางพันธุ์จะมีลักษณะแตกต่างกับปลาทั่วไป แต่ก็สามารถมองเห็นว่ายน้ำตรงทิศทาง และมองหาอาหารได้เหมือนตาปกติธรรมดา

   ปาก
:  หน้าที่หลักใช้สำหรับกินอาหารแล้วส่งอาหารเข้าสู่ระบบการย่อย นอกจากนั้นแล้วยังใช้สำหรับคุ้ยหาอาหารตามพื้น และช่วยหายใจโดยโผล่ปากขึ้นมาสูดออกซิเจนในอากาศเข้าไปชดเชยในกรณีที่ออกซิเจนในน้ำมีไม่เพียงพอ

   จมูก
: ถ้าสังเกตที่บริเวณเหนือริมฝีปากขึ้นมาเล็กน้อยจะเห็นมีรูเล็ก ๆ 2 รู นั่นคือจมูก ปลาทองบางสายพันธุ์มีเยื่อจมูกโผล่ยื่นออกมาข้างนอกเป็นกระจุก เช่นปลาทองพันธุ์ปอมปอน
   ปลาไม่ใช้จมูกสำหรับหายใจเหมือนสัตว์บก แต่มีไว้สำหรับดมกลิ่นในการหาอาหาร

   เหงือก
: เป็นเนื้อเยื่อซ่อนอยู่ใต้แผ่นกระดูกตรงบริเวณแก้มปลาทำหน้าที่กรองออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำเอาไปใช้ในระบบหายใจ ส่วนแผ่นกระดูกที่ติดเหงือกอยู่เรียกว่า แผ่นปิดเหงือกมีไว้สำหรับป้องกันเหงือกและเปิดปิดช่องเหงือก

   วุ้น
: เป็นก้อนเนื้อลักษณะเป็นเม็ดกลมเล็ก ๆ รวมตัวซ้อนกันอยู่ตรงบริเวณส่วนหัวของปลาทองคล้ายฟองสบู่  ภายในประกอบด้วยชั้นไขมันหนา เป็นลักษณะอย่างหนึ่งของปลาทองที่ผู้เลี้ยงมองว่าเป็นความสวยงามแต่ไม่เกิดประโยชน์อันใดกับตัวปลาเองเลยแม้แต่น้อย ตรงกันข้ามกลับเป็นภาระที่ปลาจะต้องแบกไว้ชั่วชีวิตด้วยซ้ำ ปลาทองที่มีวุ้นบนส่วนหัว ได้แก่ ปลาทองพันธุ์หัวสิงห์ออแรนดาหัววุ้น เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งปลาทองพันธุ์หัวสิงห์วุ้นจะดกหนาเป็นก้อนใหญ่คลุมลงมารอบปากที่เรียกกันว่า "เขี้ยว" ปลาทองบางพันธุ์ก็ไม่พบวุ้นที่บริเวณหัว เช่น ปลาทองพวกที่มีลำตัวแบน ปลาทองพันธุ์ริวกิ้นและ วากิง
เป็นต้น
   ส่วนตัว
:  คือส่วนตั้งแต่แผ่นปิดเหงือกไปจนถึงโคนครีบหาง ประกอบด้วยอวัยวะภายนอกที่สำคัญ คือ

   เกล็ด
:  เป็นแผ่นกระดูกบางใสเรียงเกยซ้อนกันคล้ายกระเบื้องมุงหลังคาอยู่ที่ผิวหนังของตัวปลา ทำหน้าที่ป้องกันอวัยวะภายในของปลา นอกจากนั้นเกล็ดปลาจะมีเมือกห่อหุ้มไว้อีกชั้น ทำหน้าที่เป็นภูมิคุ้มกันโรคให้กับปลาและลดการเสียดสีกับสิ่งของในน้ำและระหว่างปลาด้วยกันเอง

   ครีบนอกหรือครีบหู
:  เป็นครีบคู่ ตั้งอยู่บริเวณกระพุ้งแก้มหลังแผ่นปิดเหงือกข้างละอ้น ทำหน้าที่บังคับให้หัวปลาปักลงหรือเชิดขึ้น หรือช่วยให้ปลาทรงตัวอยู่กับที่

   ครีบท้อง
: เป็นครีบคู่เช่นกัน ตั้งอยู่บริเวณใต้ท้องถัดจากครีบอกไปทางด้านหลังเล็กน้อย ทำหน้าที่เช่นเดียวกับครีบอก
   ครีบทวาร
: ตั้งอยู่ที่ส่วนล่างของลำตัวถัดจากครีบหางมาทางส่วนหน้าเล็กน้อย และอยู่ใกล้กับรูทวารหนัก มีหน้าที่ช่วยในการทรงตัวปกติครีบทวารจะเป็นครีบเดี่ยว คือมีครีบเดียว แต่ปลาทองบางชนิด ครีบทวารแยกเป็นรูปตัว v ซึ่งมีทั้งชนิดครีบยาวและแฉกปลาย ปลาทองบางชนิดก็มีครีบทวารแยกออกจากกันโดยสิ้นเชิงเป็น 2 ครีบ

   ครีบหลัง
: มีหน้าที่ช่วยให้ปลาเคลื่อนที่ได้ตรงทิศทางและรวดเร็วขึ้น ถ้าจะแบ่งปลาทองโดยอาศัยครีบหลังเป็นเกณฑ์สามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ
   กลุ่มที่มีครีบหลังคล้ายเสากระโดงเรือตั้งอยู่กลางลำตัว เช่น ปลาทองธรรมดา ปลาทองพันธุ์โคเมท ชูบุงกิง เป็นต้น
   กลุ่มที่มีครีบหลังยาว เช่น ปลาทองริวกิ้น และออแรนดาหัววุ้น เป็นต้น
   กลุ่มทีไม่มีครีบหลัง เช่น ปลาทองพันธุ์หัวสิงห์ พันธุ์ตาโปน ตากลับและตาลูกโป่ง เป็นต้น

   ส่วนหาง  คือ ส่วนตั้งแต่โคนหางไปจนถึงปลายครีบหาง เป็นอวัยวะที่จะทำให้ปลาเคลื่อนที่ไปข้างหน้า ตลอดจนบังคับเลี้ยวและการทรงตัวและเป็นส่วนสำคัญของปลาทองที่ทำให้เกิดความประทับใจแก่ผู้เลี้ยงและผู้พบเห็น จึงมีการพยายามเพาะพันธุ์เพื่อให้ได้ปลาทองที่มีครีบหางต่าง ๆ กัน ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 6 แบบ คือ

   หางซิว  ลักษณะปลายครีบหางเว้าเป็น 2 แฉก เช่น ปลาทองธรรมดา
   หางซิวยาว  ลักษณะหางเว้าลึกและยาวกว่าหางซิว เช่น ปลาทองโคเมท ปลาทองชูบุงกิง
   หาง 3 แฉก  ลักษณะหางด้านบนติดกัน แต่ด้านล่างแยกเป็น 2 แฉก
   หางดอกซากุระ ลักษณะหางด้านบนและด้านล่างแยกจากกันมองเห็นเป็น 4 แฉก
   หางนกยูง  ครีบหางแยกเป็นสี่แฉกแบบเดียวกับหางดอกซากุระ แต่ปลายครีบหางแผ่ตั้งคล้ายหางนกยูง  เช่น ปลาทองยิคิง
   หางกลับ  ครีบหางที่ควรจะอยู่ส่วนบนได้กลับลงมาอยู่ข้างล่าง

วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555




1. บล็อกเกอร์มีอิสระในการนำเสนอ โดยไม่ต้องมีการตรวจสอบจากใครก่อน อาจโพสเรื่องที่ไม่เหมาะสม เรื่องที่หมิ่นเหม่ หรือ เข้าข่ายผิดกฎหมาย ผิดประเพณีและศีลธรรมอันดีได้ จึงต้องมีกติกาให้ตัวเอง หรือใช้จริยธรรมของแต่บุคคล ความมีเหตุมีผล ความระมัดระวัง รอบคอบ ของบล็อกเกอร์มากำกับไว้เอง
2. ผู้ให้บริการบล็อก ไม่สามารถกลั่นกรองเนื้อหาได้ 100% เว้นแต่จะสร้างระบบกรองคำหยาบ คำต้องห้ามไว้เพื่อให้มีการตรวจทานก่อนเผยแพร่ อาจมีความเสี่ยงเป็นผู้กระทำผิดกฎหมายไปด้วยหากมีบล็อกเกอร์โพสข้อความ รูปภาพ ไม่เหมาะสมแล้วมีการฟ้องร้องขึ้นมา
3. ในทางปฏิบัติ ผู้ให้บริการบล็อก ไม่สามารถบังคับหรือกำหนดแนวทางให้บล็อกเกอร์นำเสนอได้ แม้จะโปรโมทให้ oknation เป็นสังคมของ CJ Citizen Jouranalist แต่ก็เป็นที่ยอมรับกันว่า จะไม่สามารถอยู่ได้หากไม่มีบล็อกเกอร์ที่ทำบล็อกในแนวอื่น ซึ่งเปรียบเสมือนมีคอมลัมน์หลากหลายในหนังสือพิมพ์แต่ละฉบับ จึงน่าจะถือว่า เป็นเรื่องของการสร้างชุมชนที่ดีร่วมกัน
4. เนื้อหาที่อยู่ในบล็อก หากไม่ใช่ผลงานวิจัย หรือ วิทยานิพนธ์ ที่ทำตามหลักวิชาการ หรือ ตัวบทกฎหมาย ก็อาจมีความน่าเชื่อถือน้อยถึงน้อยมาก
5.ความน่าเชื่อถือของข้อมูลขึ้นกับความน่าเชื่อถือของบล็อกเกอร์ มากกว่าตัวข้อมูลเอง หากเกิดความผิดพลาดใดๆ ผู้ที่นำข้อมูลไปใช้อ้างอิง อาจประสบปัญหาได้
6. เปิดโอกาสให้พวกป่วนเข้ามาเปิดบล็อก ก่อกวน
7. เปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความคิดเห็นแตกต่างกัน มาอยู่ร่วมในชุมชนเดียวกัน เพิ่มโอกาสให้มีการแสดงออกถึงการขัดแย้งอย่างไม่มีเหตุผล สร้างความไม่สามัคคี ทะเลาะกันได้ หากไม่ใช้การวางจิตเป็นกลาง ไม่นำเหตุและผลมาโต้แย้งกันโดยสันติ
8. เปิดโอกาสให้มีการเผยแพร่ กระจายข่าวปั้นแต่ง ข่าวลือ ข่าวลวง ข่าวยั่วยุ
9. การที่มีบล็อก และเรื่องใหม่ๆมากมายในแต่ละวัน การนำเสนอเรื่องเดิมซ้ำๆกันอาจเกิดขึ้นได้ เช่นการนำ ข้อความจากฟอร์เวิร์ดเมล์ มาโพส เป็นต้น





1. เจ้าของบล็อกมีอิสระที่จะนำเสนอ อะไรก็ได้ ที่ไม่ไปก้าวล่วงบุคคลอื่น ที่ไม่ผิดกติกาของผู้ให้บริการบล็อกที่เราทำอยู่ (oknation) ที่ไม่ผิดกฎหมายและศีลธรรม ประเพณีที่ดีงาม ถ้าเราใช้จริยธรรมในใจกำกับ กฎต่างๆก็อยู่ที่เราจะกำหนดเองค่ะ
2. เปิดโอกาสให้ บล็อกเกอร์ได้รับฟัง แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้โดยอิสระ จะรับไว้ จะไม่อ่าน จะตอบ จะลบ ก็ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของเจ้าของบล็อก แต่ก็ไม่ลดสิทธิ์ที่ผู้ให้บริการบล็อกจะเข้ามาช่วยดูแลในกรณี ฉุกเฉิน หรือมีปัญหาที่ต้องดำเนินการ
3. ในด้านเทคนิค เจ้าของบล็อกสามารถปรับแต่งบล็อกให้เป็นรูปแบบที่ตนต้องการได้โดยไม่ต้องมีความรู้ในเรื่องภาษาคำสั่งของโปรแกรมมากมาย อาศัยบทเรียนง่ายๆ การสังเกตุ การทดลอง สามัญสำนึกช่วยก็ทำเองได้ หรืออาจขอความช่วยเหลือเล็กๆน้อยๆจากผู้ที่มีประสบการณ์ก็สามารถเข้าไปแก้ไข Source Code เองได้
4. สามารถสร้างเครือข่าย ชุมชนสัมพันธ์ระหว่างบล็อกเกอร์ที่มีความคิด ความสนใจ ความรู้สึก ร่วมกันได้
5. ช่วยเป็นกระบอกเสียง ทำประชาสัมพันธ์ในเรื่องต่างๆได้ รวมทั้งผลงานให้เป็นที่รู้จัก หากบุคคล นักธุรกิจ คนดัง นักร้อง ค่ายเพลง นักแสดง หมอดู นักการเมือง องค์กร ห้างร้านสนใจมาทำบล็อกก็จะได้ประโยชน์ในเรื่องการตลาดอย่างมาก หากใช้อย่างมีเป้าหมาย มีการวางแผน ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง และบริหารบล็อกอย่างมืออาชีพ หรือด้วยมืออาชีพ
6. เปิดโอกาสให้เจ้าของบล็อกทำธุรกิจได้ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจที่หารายได้จากการจำหน่ายสินค้า บริการ หรือ หารายได้จากการเป็นสมาชิก การลงโฆษณา ก็ตาม
7. ได้พื้นที่ใช้งานฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย แถมมีคนคอยบริการ ช่วยเหลือเมือ่มีปัญหาทางด้านเทคนิค หรือปัญหาทั่วๆไปที่เกี่ยวกับ บล็อก
8. ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ หรือ สิ่งเก่าๆ ที่ยังไม่รู้ ให้รู้มากขึ้น จากการนำมาแลกเปลี่ยนกันและกัน
9. ได้มิตรภาพใหม่ๆ จากความสัมพันธ์กับคนในชุมชนบล็อก กับเพื่อนของบล็อกเกอร์ และเพื่อนของเพื่อนของ.....
10. ใช้เป็นช่องทางสื่อสารกับครอบครัว เพื่อนฝูง เมื่อยามห่างไกลกัน
11. เปิดโอกาสให้เจ้าของบล็อกได้แสดงออกถึงความสามารถ ความคิดเห็นได้อย่างไม่เคยมีมาก่อน บางท่านอาจจะกลายเป็นคนดังได้ เช่น คุณ kittinun ป้ามด และอีกหลายๆท่าน
12. เปิดโอกาสให้ประชาชนคนธรรมดา กลายเป็น ผู้สื่อข่าวได้ เพียงแค่นำเรื่องใกล้ตัวที่น่าสนใจ น่าตระหนัก มาเสนอในช่วงเวลาที่เหมาะสม
13. เปิดโอกาสให้บล็อกเกอร์ได้แสดงตัวตนที่เป็นตัวเอง หรืออาจจะเป็นด้านที่ไม่มีใครรู้มาก่อนได้ แม้จะอยู่ชื่อแฝง หรือจะอยู่ในชื่อจริงก็ตาม
14. เป็นไดอารี่บันทึกประจำวัน เป็นที่เก็บข้อมูลประจำครอบครัว ประจำสถาบัน ใช้เป็นจดหมายเหตุได้
15. เป็นที่พบปะสังสรรค์เพือนเก่า เครือญาติ ศิษย์เก่าสถาบันต่างๆได้
16. เก็บไว้เป็นที่ระลึกถึงตัวเอง ถึงคนอันเป็นที่รัก ที่ชัง ครอบครัว เพื่อน คนอื่นรวมไปถึงสัตว์เลี้ยง พืช งานอดิเรก ของรัก ของหวง รวมถึงเหตุการณ์ที่น่าจดจำรำลึก ในยามที่เลิกหรือไม่ได้ทำบล็อกแล้ว
17. เป็นแหล่งข้อมูลความรู้ ให้บุคคลอื่นเข้ามาค้นคว้า ศึกษาได้ในปัจจุบันและอนาคต
18. เปิดโอกาสให้ผู้ที่อาจจะต้องอยู่ในมุมมืด เช่นผู้มีอาชีพพิเศษ นักโทษ ผู้ที่ไม่ต้องการเผยตัว ได้ใช้เป็นเวทีแสดงออกและแลกเปลี่ยน เรื่องราว ความคิดเห็น แนวทาง โดยไม่จำเป็นต้องเผยชื่อ
19. เปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความคิดเห็นแตกต่างกัน มาอยู่ร่วมในชุมชนเดียวกัน เพิ่มโอกาสให้มีการปรับแนวทางความคิด ความเข้าใจซึ่งกันและกัน และอาจจะนำไปสู่ความรู้รักสามัคคี และการสมานฉันท์ ในการนำส่วนที่ดีดี มาใช้ร่วมกันก็เป็นได้
20. ใช้เป็นเครื่องมือในการทำงาน เช่นกรณีของการนำเสนอข่าวอย่างฉับไว เจาะลึก มีพร้อมทั้งภาพและเสียง ผ่านสื่อต่างๆหลายรูปแบบ ซึ่งในเครือ The Nation ใช้อยู่ในปัจจบุนนี้
21.  ใช้เป็นศูนย์รวมการให้ความรู้ การศึกษาวิชาการ วิชาชีพ ศิลปะ การติว การให้การบ้าน การส่งการบ้าน ของครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา บุคคลทั่วไป 
22. ใช้สร้าง รวมกลุ่ม ชุมชนออนไลน์ย่อยๆ เพื่อการระดมความคิด พบปะพูดคุย ปรึกษาธุระ แสดงผลงานร่วมกัน เช่น ร้อยแก้ว ร้อยกรอง วรรณกรรม การ์ตูน งานศิลปะอื่นๆ ตามแตความสนใจของกลุ่มย่อยนั้น ในบางกรณี ยังสามารถกำหนด password ในการเข้าบล็อกของกลุ่มเพื่อรักษาความลับไม่ให้รั่วไหล
23. ใช้เป็นสถานีวิทยุออนไลน์ ให้บริการข่าว ฟังเพลง ตลอด 24 ชั่วโมง


  1. คลังความรู้ มีความรู้มากมายให้ค้นหา ให้อ่านตามความสนใจ
  2. คลังมิตรภาพ เกิดการปฏิสัมพันธ์กันทั้งทางออนไลน์และออฟไลน์จนกลายเป็นมิตรภาพดีๆ
  3. คลังแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แสดงความคิดเห็น และต่อยอดความรู้ออกไป
  4. คลังแห่งความสุข เป็นที่ระบายความเครียด ช่วยผ่อนคลาย และเพิ่มความสุขในชีวิต
  5. คลังข้อมูล ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการทำงานของสมาชิกที่สำคัญ ช่วยให้เจ้าของข้อมูลสามารถดึงดูดข้อมูลออกมาใช้ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว
  6. คลังเพื่อการฝึกฝน เป็นแหล่งฝึกฝนระบบการคิด ทักษะการเขียน และความสามารถด้านถ่ายทอดข้อมูลความรู้ต่างๆ และยังเป็นแหล่งฝึกทักษะการใช้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตได้อย่างดีอีกด้วย
  7. คลัง KM ที่แห่งนี้เป็นสถานที่ที่มีผู้เชียวชาญด้านการจัดการความรู้ (KM) มากมาย อีกทั้งสามารถค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการความรู้ (KM) ได้ง่ายเพียงแค่คลิก
  8. คลังประชาสัมพันธ์และกิจกรรมงานบุญ เป็นแหล่งประชาสัมพันธ์กิจกรรมดีๆ เพื่อสร้างสรรค์สังคมมากมาย
  9. คลังแห่งองค์กรต่างๆ บางองค์กรเลือกเว็บไซต์ GOtoKnow.org เป็นเครื่องมือเพื่อติดต่อสื่อสารระหว่างกัน
  10. คลังเพื่อนช่วยเพื่อน เมื่อมีการติดต่อสื่อสารกันทั้งทางออนไลน์ จนเกิดความไว้เนื้อเชื่อใจกัน พบว่าเกิดกระบวนการเพื่อนช่วยเพื่อน ทั้งทางออนไลน์และออฟไลน์ เช่น ช่วยสอนวิธีการใช้งานบล็อก
  11. คลังความรู้ฝังลึก อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า ที่มี่เป็นคลังความรู้ มีสารประโยชน์ต่างๆ มากมายให้เลือกอ่าน และที่สำคัญความรู้ส่วนใหญ่นั้นเป็นความรู้สึกฝังลึกที่ซ่อนอยู่ ในตัวคนทุกคนนั่นเอง ที่นี่จึงกลายเป๋นคลังความรู้ฝังลึกที่ใหญ่มาก และถ้าหากสามารถสกัดความรู้ฝังลึกเหล่านี้ให้กลายเป็นความรู้ชัดแจ้งได้ ที่มี่กลายเป็นคลังแก่นความรู้ได้ต่อไป



บล็อก (Blog) คือ คำว่า “Weblog” ถูกใช้งานเป็นครั้งแรกโดย Jorn Barger ในเดือนธันวาคม ปี 1997 ต่อมามีฝรั่งที่ชอบเรียกสั้นๆ ชื่อนาย Peter Merholz จับมาเรียกย่อเหลือแต่ “Blog” แทนในเดือนเมษายน ปีค.ศ.1999 และจนมาถึงวันที่ 13 มีนาคม ค.ศ.2003 ทาง
Oxford English Dictionary จึงได้บรรจุคำว่า blog ในพจนานุกรม แสดงว่าได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการ บล็อก (Blog) ขึ้นแท่นศัพท์ยอดฮิต อันดับหนึ่ง ซึ่งถูกเสาะแสวงหา ความหมาย ทางพจนานุกรมออนไลน์ มากที่สุด ประจำปี 2004
สำนักข่าวเอพีรายงานว่า เว็บไซต์ ดิกชั่นนารีหรือ พจนานุกรมออนไลน์ “เมอร์เรียม-เว็บสเตอร์” ได้ประกาศรายชื่อ คำศัพท์ซึ่งถูกคลิก เข้าไปค้นหา ความหมายผ่าน ระบบออนไลน์มากที่สุด 10 อันดับแรกประจำปีนี้ ซึ่งอันดับหนึ่งตกเป็นของคำว่า “บล็อก” (blog) ซึ่งเป็นคำย่อของ “เว็บ บล็อก” (web log)
โดยนายอาเธอร์ บิคเนล โฆษกสำนักพิมพ์พจนานุกรมฉบับ เมอร์เรียม-เว็บสเตอร์ กล่าวว่า สำนักพิมพ์ได้เตรียมที่จะนำคำว่า “บล็อก” บรรจุลงในพจนานุกรมฉบับล่าสุดทั้งที่เป็นเล่มและ ฉบับออนไลน์แล้ว
แต่จากความต้องการของผู้ใช้ที่หลั่งไหลเข้ามา ทำให้เมอร์เรียม-เว็บสเตอร์ตัดสินใจบรรจุคำว่า “บล็อก” ลงในเว็บไซต์ในสังกัดบางแห่งไปก่อน โดยให้คำจำกัดความไว้ว่า “เว็บไซต์ที่บรรจุ เรื่องราวเกี่ยวกับบันทึกส่วนตัวประจำวัน ซึ่งสะท้อนถึงมุมมอง ความคิดเห็นของบุคคล โดยอาจรวมลิงค์เชื่อมต่อไปยังเว็บไซต์อื่นๆ ตามความประสงค์ของเจ้าของเว็บบล็อกเองด้วย” โดยทั่วไป คำศัพท์ที่ถูกบรรจุลงในพจนานุกรมนั้นจะต้องผ่านการใช้งาน อย่างแพร่หลาย มาไม่น้อยกว่า 20 ปี ซึ่งหมายความว่าคำคำนั้นจะต้องถูกนำมาใช้
โดยทั่วไปในระยะเวลาหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันคำศัพท์ ทางเทคโนโลยีรวมไปถึงโรคภัยไข้เจ็บใหม่ๆ อย่างเช่น โรคเอดส์ โรคไข้หวัดซาร์ส ถูกบรรจุลงในพจนานุกรมภายในระยะเวลาอันสั้น
คำว่า “บล็อก” เริ่มใช้เป็นครั้งแรกๆผ่านทางหน้าหนังสือพิมพ์และนิตยสารเมื่อปี 2542 แต่ผู้รวบรวมพจนานุกรมตั้งข้อสังเกตว่าการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ และการประชุมใหญ่ของ พรรคเดโมแครตและพรรครีพับลิกันเพื่อรับรองชื่อ ผู้สมัครเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีที่ผ่านมา ทำให้ประชาชนชาวสหรัฐฯ ผู้ติดตามข่าวสารส่วนใหญ่สนใจ และต้องการทราบความหมายที่แท้จริงของคำดังกล่าว โดยเฉพาะเมื่อคำศัพท์เหล่านั้นปรากฏเป็นข่าวพาดหัวตามหน้าหนังสือพิมพ์ทั่วไป


บล็อกมาจากการผสมคำระหว่าง  WEB ( Wolrd Wide Web) +LOG (บันทึก)  = BLOG  คือ เว็บไซต์ที่เจ้าของ หรือ Blogger สามารถบันทึกเรื่องราวของตนเองลงในเว็บได้ตลอดเวลา  การสร้างเว็บบล็อกสามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยตัวเอง ไม่ซับซ้อน ไม่เสียสตางค์ ไม่จำเป็นต้องรู้ภาษา HTML อย่างน้อยขอให้มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตและเว็บไซต์
ภายในเว็บบล็อก จะมีระบบบริหารจัดการเว็บไซต์พื้นฐานให้แล้ว โดยการสร้างเครื่องมือสำหรับ เขียนเรื่อง โพสรูป จัดหมวดหมู่ และลูกเล่นอื่นๆ ที่ผู้จัดทำพยายามสร้างเพื่อดึงดูดผู้คนจากทั่วโลก ให้เข้าไปใช้บริการ เสน่ห์ของบล็อกอยู่ที่ผู้อ่านและผู้เขียนสามารถโต้ตอบกันได้ (Interactive) โดยการแสดงความคิดเห็นต่อท้ายที่เรื่องนั้นๆ
บางคนมองว่าการเขียนบล็อก ก็คือการเขียนไดอารี่ออนไลน์ แท้ที่จริง ไดอารี่ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของบล็อกเท่านั้น คุณเปิดบล็อกขึ้นมาไม่ใช่เพื่อเขียนเรื่องราวในชีวิตประจำวันอย่างเดียว แต่สามารถใส่ความรู้ ประสบการณ์ เพื่อเป็นวิทยาทานให้คนอื่นๆ เช่น คุณหมอ เปิดบล็อกแนะนำเรื่องสุขภาพ เป็นต้น
บล็อก คือ สื่อใหม่ (New Media) เป็นปรากฎการณ์ที่เปลี่ยนรูปแบบการสื่อสารในอดีตอย่างสิ้นเชิง คนเขียนบล็อก สามารถทำหน้าที่เป็นสื่อด้วยตัวเอง ไม่ต้องพึ่งสื่อสารมวลชน เขาสามารถสื่อสารกันเองในกลุ่มเล็กๆ หรือกลุ่มใหญ่ก็ได้ ถ้าเรื่องไหน เป็นที่ถูกใจ ของชาวบล็อก ชาวเน็ต คนๆ นั้น อาจจะดังได้เพียงชั่วข้ามคืน โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยสื่อหลักช่วยเลย
 

Sample text

Sample Text

Sample Text